ตรวจสอบสายพาน

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat.

เช็คตลับลูกปืน

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat.

เปลี่ยนซีลปั๊มน้ำ

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat.

เช็คระดับน้ำในปั๊ม

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat.

เจอแบบนี้ต้อง
รีบเปลี่ยนก่อนปั๊มพัง

จุดเปรียบเทียบ
(ปั๊มถังกลม)

จุดเด่น
(ปั๊มถังกลม)

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat.

จุดด้อย
(ปั๊มถังกลม)

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat.

อะไหล่และอุปกรณ์เสริม

ปั๊มน้ำถังกลม

ค้นหาอะไหล่ปั๊มน้ำที่คุณต้องการได้ง่ายๆด้านล่างนี้

Click me!

ค้นหา ปั๊มน้ำ รุ่นอื่นได้ที่นี่

Buy
ดูข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับเครื่องมือ

HITACHI

มีทุกเบอร์ทุกรุ่น

Buy
ดูข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับเครื่องมือ

HITACHI

มีทุกเบอร์ทุกรุ่น

Buy
ดูข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับเครื่องมือ

HITACHI

มีทุกเบอร์ทุกรุ่น

Buy
ดูข้อมูลเพิ่มเติม

สำหรับเครื่องมือ

HITACHI

มีทุกเบอร์ทุกรุ่น

งานช่างไม่ยากอย่างที่คิด
แค่มีเครื่องมือคู่ใจคุณ

ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความเกี่ยวกับปั๊มน้ำ

“สำหรับใครที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีการสูบน้ำ หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าปั๊มน้ำ หรือที่เรียกว่าเครื่องสูบน้ำ สามารถใช้งานได้สำหรับวัตถุประสงค์ที่หลากหลายอย่างไม่น่าเชื่อ ที่จริงแล้วมันถูกใช้กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ทุกวัน โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว”

ในปัจจุบันเครื่องปั๊มน้ำถูกใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกและมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นอย่างมาก ทั้งในเชิงพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม ใช้ในการทำเกษตรกรรม การขนส่งคมนาคม ใช้กับที่อยู่อาศัย เพื่อการอุปโภคบริโภค การระบายน้ำ ตลอดจนใช้ลำเลียงและบำบัดน้ำเสียเพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมที่ดี จะเห็นได้ว่าปั๊มน้ำมีความสำคัญ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาอุปกรณ์ชนิดนี้ 

ปั๊มน้ำสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทในตลาด ไม่ว่าจะเป็นตามการใช้งาน หรือลักษณะการทำงาน หากได้ทำความรู้จัก ข้อดีข้อเสียแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร และเลือกใช้ปั๊มน้ำอย่างเหมาะสมต่อการใช้งาน ตรงต่อความต้องการ ประกอบจากวัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน ปั๊มน้ำจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของเราให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

รู้จักปั๊มน้ำมากขึ้น • ปั๊มน้ำคืออะไร?

ปั๊มน้ำ หรือ เครื่องสูบน้ำ (Water Pump) คือ อุปกรณ์(เครื่องกล)ที่ช่วยในการเพิ่มแรงดันน้ำ เพื่อส่ง(เคลื่อนย้าย)น้ำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ตามพื้นที่ที่ต้องการใช้งาน

  • ปั๊มน้ำที่ใช้ในบ้านส่วนใหญ่จะเป็นแบบใช้ไฟฟ้า (Electricity)
    → ซึ่งจะมีองค์ประกอบ 2 ส่วนหลัก ได้แก่ หัวปั๊มและมอเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่หมุนส่งกำลังให้ตัวปั๊มทำงานโดยเคลื่อนที่เพื่อผลักน้ำและส่งไปตามท่อด้วยแรงดันและปริมาณน้ำ ที่แรงดัน(ความสูง)สูงจะจ่ายน้ำได้ปริมาณน้อย ที่แรงดัน(ความสูง)ต่ำจะจ่ายน้ำได้ปริมาณมาก
  • ปั๊มน้ำยังสามารถใช้แหล่งพลังงานอื่น ๆ (Engine)
    → น้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล แก๊สโซลีน พลังงานจากไอน้ำ ฯลฯ เป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนแรงดันได้เช่นกัน นอกจากนี้ในพื้นที่ห่างไกลบางแห่ง เช่น ทะเลทราย สามารถใช้แผงโซลาร์เซลล์กับปั๊มขนาดเล็กได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกและเหมาะสมเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันนั่นเอง
ประเภทปั๊มน้ำ • แบ่งโดยทั่วไป 4 ชนิด

1. ปั๊มน้ำอัตโนมัติ (Automatic Water Pump)

เป็นปั๊มน้ำที่ใช้โดยทั่วไปตามบ้านเรือน เหมาะสำหรับการใช้ภายในบ้าน อาคาร อพาร์ทเม้นท์ คอนโด ตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว ทำงานโดยการเปิด-ปิดอัตโนมัติตามการเปิดใช้งานของอุปกรณ์ใช้น้ำ สามารถส่งน้ำไปตามจุดต่าง ๆ ภายในบ้านได้ดี เช่น ทันทีที่เปิดก๊อกปั๊มน้ำจะทำงาน พอเลิกใช้ปั๊มก็หยุดทำงานแบ่งได้อีก 2 ชนิดซึ่งเรียกกันตามรูปลักษณ์ง่าย ๆ ได้แก่

1.1 ปั๊มน้ำอัตโนมัติถังแรงดัน (ปั๊มน้ำถังกลม)

มีอีกชื่อคือ ถังความดัน (Automatic Water Pump with Pressure Tank) [ทรงกระบอก]

  • หลักการทำงานของปั๊ม คือ ปั๊มจะทำการดูดน้ำเข้าไปเก็บไว้ในถังความดัน หรือ ถังแรงดัน (Pressure Tank) จนเกิดแรงดันของน้ำเข้าไปแทนที่อากาศ ที่อยู่ในถังความดัน (โดยเฉลี่ยแล้วจะได้ประมาณครึ่งนึงในถังความดัน) เมื่อน้ำและอากาศอัดอยู่ด้วยกัน ลักษณะการทำงานจะคล้ายกับลูกโป่งที่ถูกสูบลมจนเต็มจนลูกโป่งใกล้จะแตก ถุงลมจะดันน้ำออกจากตัวปั๊มไปสู่ก๊อกและท่อต่าง ๆ ในบ้าน น้ำที่เข้าไปอยู่ในถังความดัน จะถูกอากาศที่อยู่ด้านบนของถัง บีบอัดต่อลงมาให้น้ำไหลออกแรงมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
  • ปั๊มน้ำประเภทนี้จะเริ่มทำงานต่อเมื่อ แรงดันน้ำในถังเก็บน้ำเริ่มลดลงปั๊มน้ำก็จะอัดลมเข้าถุงลมและมีช่วงเวลาการอัดแรงดันเข้าท่อน้ำเป็นจังหวะดังนั้นบางครั้งที่เราเปิดใช้น้ำไม่มากทำให้น้ำในท่อยังไม่สูญเสียแรงดันปั๊มน้ำก็จะไม่ทำงานแต่เมื่อเราเปิดใช้น้ำจนแรงดันน้ำเหลือน้อยลงปั๊มจึงเริ่มทำงานใหม่อีกครั้ง

1.2 ปั๊มน้ำอัตโนมัติแรงดันคงที่ (ปั๊มน้ำถังเหลี่ยม)

(Constant Pressure Water Pump) [ทรงเหลี่ยม]

  • ปั๊มน้ำชนิดนี้จะไม่มีถังความดัน มีขนาดกะทัดรัด จุดเด่นของปั๊มน้ำประเภทนี้ คือ สามารถควบคุมแรงดันคงที่ (Constant Pressure) หมายถึง มีแรงดันส่งน้ำสม่ำเสมอตลอดเวลาการเปิดน้ำให้ไหล ปริมาณน้ำที่ถูกดูดเข้าและปล่อยออกจะคงที่มากกว่าปั๊มถังกลม มีแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ตรวจวัดปริมาณการใช้น้ำ (Flow Switch) เพื่อให้เครื่องปั๊มน้ำสร้างแรงดันคงที่ตลอดเวลา เหมาะกับบ้านที่มีการใช้น้ำหลายจุดและอุปกรณ์ที่ต้องการติดตั้งแรงดันน้ำเท่ากันตลอดเวลาการเปิดน้ำ เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น ฝักบัว เป็นต้น
  • หลักการทำงานของปั๊มจะสร้างความดันเมื่อ น้ำไหลออกจากปั๊มทุกครั้งกล่าวคือกลไกของปั๊มจะทำงานทันทีที่เราเปิดใช้น้ำความดันภายในจะเกิดจากการใช้ถังโลหะขนาดเล็กๆที่ข้างในบรรจุ ก๊าซไนโตรเจน (N2เรียกว่า แท้งค์ไนโตรเจน (Nitrogen Tank) หรือบางที่เรียกว่า เบลดเดอร์แท้งค์ (Bladder Tank) ซึ่งก๊าซไนโตรเจนนี้จะมีคุณสมบัติทนต่อความร้อนได้สูง และมีแรงดันเสถียรกว่าอากาศปกติ ก๊าซไนโตรเจนจะถูกอัดอยู่ในถังโลหะอย่างถาวรโดยจะมียางไดอะแฟรม (Diaphragm) คั่นกลางเอาไว้ระหว่างน้ำกับก๊าซไนโตรเจน เวลาที่เปิดน้ำเข้ามาในถังก๊าซไนโตรเจนก็จะอัดน้ำให้เกิดแรงดันอย่างต่อเนื่อง จะถูกควบคุมด้วยอุปกรณ์ควบคุมแรงดัน (Pressure Stabilized Unit) ส่งออกไปตามระบบท่อเข้าสู่การใช้งานในบ้าน

2. ปั๊มน้ำกึ่งอัตโนมัติ

มีลักษณะคล้ายกับปั๊มอัตโนมัติแต่ต้องเปิด-ปิดสวิตซ์ หรือเสียบปลั๊ก-ถอดปลั๊กใช้งานเอง ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าปั๊มน้ำอัตโนมัติ

3. ปั๊มน้ำหอยโข่ง หรือ ปั๊มเกษตร (Centrifugal Pump)

เป็นปั๊มที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย นิยมใช้มากในอุตสาหกรรม การเกษร การดึงน้ำเก็บใส่ถัง เทศบาล ชลประทาน โรงน้ำทิ้งและน้ำเสีย โรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าปิโตรเลียม เหมืองแร่ โรงเคมี งานก่อสร้าง งานอัคคีภัย งานสูบน้ำขึ้นตึกสูง งานสูบจากแทงค์หรือบ่อ งานหัวจ่ายน้ำ Sprinkle สามารถสูบน้ำได้ในปริมาณที่มากหรือแรงส่งสูง ๆ เพราะตั๊วปั๊มจะมีแรงม้าสูง แต่ไม่เป็นระบบอัตโนมัติ เหมาะกับการใช้งานต่อเนื่องนาน

3.1 แบ่งชนิดตามทิศในการใช้งานของปั๊มหอยโข่ง

  • ปั๊มหอยโข่งแนวตั้ง → ปลอกรูปก้นหอยจะแยกออกตามแนวแกน และเส้นแยกที่ปลอกปั๊ม แยกอยู่ที่เส้นกึ่งกลางของเพลา โดยทั่วไปจะติดตั้งในแนวนอน เนื่องจากสะดวกในการติดตั้งและบำรุงรักษา
  • ปั๊มหอยโข่งแนวรัศมี → เคสปั๊มแยก จะเป็นแนวรัศมี การแยกปลอกรูปก้นหอยจะตั้งฉากกับเส้นกึ่งกลางเพลา

3.2 แบ่งชนิดตามใบพัดของปั๊มหอยโข่ง

(หากปั๊มมีใบพัดมากกว่า 1 ตัว รูปแบบของใบพัด จะทำให้เราจำแนกได้ว่าปั๊มเป็นประเภทดูดเดี่ยว หรือคู่นั่นเอง)

  • ปั๊มหอยโข่งใบพัดเดี่ยว → มีใบพัดดูดเดี่ยว (Single Suction Impeller) ช่วยให้ของเหลวไหลเข้าสู่ใบพัดผ่านด้านเดียวเท่านั้น มีการออกแบบที่เรียบง่าย และเนื่องจากการไหลเข้ามาที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบพัดนี้เอง ทำให้ใบพัดมีความไม่สมดุลของแรงขับตามแนวแกนที่สูงขึ้น
  • ปั๊มหอยโข่งใบพัดคู่ → มาพร้อมกับใบพัดดูดคู่ (Double Suction Impeller) ช่วยให้ของเหลวไหลเข้าจากทั้ง 2 ด้านของใบพัด และมี NPSHR ต่ำกว่าใบพัดดูดเดี่ยว ปั๊มหอยโข่งชนิด Split-Case มักพบใบพัดดูดคู่มากที่สุด

3.2 แบ่งตามรูปก้นหอย

  • รูปก้นหอยช่องเดี่ยว → มักใช้ในปั๊มความจุต่ำ มีขนาดเล็ก ซึ่งการออกแบบรูปก้นหอย 2 อัน ไม่สามารถใช้งานได้จริง เนื่องจากทางเดินรูปก้นหอย มีขนาดค่อนข้างเล็ก ปั๊มที่มีการออกแบบเป็นรูปก้นหอยเดี่ยว จะรับแรงในแนวรัศมีได้สูงกว่า
  • รูปก้นหอยช่องคู่ → มีปริมาตร 2 ส่วน ซึ่งอยู่ห่างกัน 180 องศา ส่งผลให้การถ่วงรัศมีมีความสมดุล ปั๊มหอยโข่งส่วนใหญ่ จะออกแบบเป็นรูปก้นหอยคู่

3.3 แบ่งตามการวางแนวเพลา

  • แนวเพลานอนมีเพลาอยู่ในระนาบแนวนอน ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากความสะดวกในการซ่อมและการบำรุงรักษา
  • แนวเพลาตั้ง → มีเพลาอยู่ในระนาบแนวตั้ง ใช้การกำหนดค่าการรองรับเพลา และแบริ่งที่เป็นเอกลักษณ์

4. ปั๊มน้ำจุ่ม หรือ ปั๊มแช่ (Submersible Pump)

หรือมีอีกชื่อเรียก ที่นิยมเรียกกันว่า “ปั๊มน้ำไดโว่”

ปั๊มไดโว่คือ ปั๊มที่ใช้งานโดยการนำตัวปั๊มลงไปจุ่มหรือแช่ไว้ในบ่อน้ำ แม่น้ำ ลำคลองหรือแหล่งน้ำที่ต้องการเพื่อทำการสูบน้ำขึ้นมา เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นหากต้องระบายน้ำจากบ่อไปยังที่ต่าง ๆ จึงใช้กันอย่างแพร่หลายตามบ้านเรือนที่มีสระน้ำ บ่อปลา หรือบ่อพักน้ำ ปั๊มจุ่มมีขนาดที่กะทัดรัด น้ำหนักเบา และใช้งานง่าย นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการดูดบำบัดน้ำเสีย น้ำโคลน หรือของเหลวที่มีกากตะกอนสูงได้อย่างดีอีกด้วย

แบ่งประเภทปั๊มน้ำจุ่มจะแบ่งได้อีก 2 ชนิด

  • แบบมีลูกลอย → พอจุ่มน้ำสูงลูกลอยจะลอยขึ้น พอดูดน้ำหมดลูกลอยก็จะจมลงปั๊มก็ตัดอัตโนมัติ. ปั๊มน้ำจุ่มหรือไดโว่แบบนี้ใช้งานง่าย เพียงแค่ควบคุมลูกลอยที่เชื่อมต่อกับตัวปั๊มโดยตรง การทำงานเบื้องต้นต้องให้ลูกลอย ลอยเหนือปั๊มให้ได้ระดับความลึกของปั๊มรุ่นนั้น ๆ ปั๊มจึงจะสามารถทำงานได้ และการสตาร์ทเริ่มทำงานหรือหยุดการทำงาน ควบคุมผ่านไฟฟ้าที่มีสายเชื่อมต่อตรงกับปั๊มเลย บางรุ่นสามารถเคลื่อนย้ายน้ำที่ไม่มีการกรอง และได้ออกแบบมาเพื่อล้างภาชนะที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นหลัก
  • แบบที่ไม่มีลูกลอย → ต้องเปิด-ปิดสวิตช์เอง เหมาะสำหรับใช้ในบ่อน้ำทั่วไป จึงไม่เป็นต้องคำนึงถึงระดับน้ำที่ใช้งานร่วมกับปั๊มน้ำจุ่มหรือไดโว่ (แบบไม่มีลูกลอย) การทำงานจึงไม่มีความซับซ้อน เพียงแค่เสียบปลั๊กที่เชื่อมต่อเข้ากับปั๊มโดยตรง ก็สามารถเริ่มทำงานได้เลย สามารถสร้างแรงดันอย่างต่อเนื่องและอัตราการไหลสม่ำเสมอ

ปั๊มน้ำยังสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย แต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติพิเศษที่โดดเด่น รวมถึงข้อเสียเปรียบหรือจุดด้อยที่แตกต่างกันไป

ประเภทปั๊มน้ำ • แบ่งตามความลึกจากพื้นผิว

ปั๊มเจ็ท (Jet Pump) → เครื่องพ่นไอน้ำบ่อน้ำลึกจะทำงานในลักษณะเดียวกับการใช้งานบ่อน้ำตื้นเนื่องจากน้ำถูกส่งไปยังเครื่องพ่นไอน้ำแรงดันสูงภายใต้แรงดันจากปั๊มจากนั้นเครื่องพ่นไอน้ำจะส่งกลับน้ำบวกกับแหล่งจ่ายเพิ่มเติมจากบ่อน้ำไปยังระดับที่ปั๊มเจ็ทสามารถยกขึ้นได้ตลอดทางโดยการดูด สามารถติดตั้งสำหรับบ่อน้ำตื้นหรือบ่อน้ำลึกก็ได้ 

แบ่งประเภทของปั๊มน้ำได้ 2 ชนิด

  1. สำหรับบ่อน้ำตื้น (Shallow Well Pump) → เหมาะสําหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่ใช้น้ำประปาและบ่อน้ำตื้นระยะดูดที่ความลึกไม่เกิน 7 เมตร (หรือมากที่สุดได้ถึง 15 เมตร บ่อน้ำจะถือว่าตื้นหากมีความลึกน้อยกว่า 50 ฟุต *ที่นิยมใช้ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 25 ฟุต)
  2. สำหรับบ่อน้ำลึก (Deep Well Pump) → เหมาะสําหรับบ่อน้ำลึกระยะดูดที่ความลึกอยู่ระหว่าง 8-37 เมตร (25-120 ฟุต) ได้แก่ น้ำบาดาล ซึ่งนิยมใช้กันมากตามต่างจังหวัด เช่น ภาคเหนือและภาคอีสาน เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง Shallow Well Pump และ Deep Well Pump คือ ตำแหน่งของเครื่องพ่นไอน้ำ (หัวฉีดและ Venturi) สำหรับบ่อน้ำตื้นจะอยู่ในตัวเรือนของปั๊มหรือติดอยู่ที่ด้านหน้าของปั๊ม ในขณะที่บ่อน้ำลึกจะอยู่ในบ่อน้ำ

ประเภทของปั๊มน้ำ • ตามลักษณะการขับดันของเหลวในปั๊ม

1. ทำงานโดยไม่อาศัยหลักการแทนที่ของเหลว (Dynamic Pump)
แบบอาศัยแรงกลไกการเหวี่ยงหนีศูนย์กลางในการพาของเหลว

  • ไดนามิกปั๊ม (Dynamic Pump) คือ ปั๊มประเภทที่สามารถผลิตเฮดน้ำ โดยใช้หลักการแรงเหวี่ยงหนีศูนย์จากใบพัดไปหาของเหลว การเพิ่มความเร็วของน้ำซึ่งได้จากการหมุนของใบพัดไปตามตัวเรือนของปั๊ม อัตราการไหลของน้ำจะแปรผันตามความดันด้านขาออก (Discharge) ลักษณะการทำงานคือความสัมพันธ์ของ Flow – Head จะแปรผกผันกัน โดยยิ่ง Head สูง Flow จะต่ำ แต่หาก Head ต่ำ ๆ Flow จะสูง

สามารถแบ่งออกตามคุณลักษณะได้ดังนี้

  • Axial Pump คือ ปั๊มแบบไหลตามแนวแกน มีใบพัดทำมุมกับแนวแกน เมื่อแกนหมุนใบพัดจะผลักให้น้ำมีความดันและมีการไหลด้วยความเร็ว โดยน้ำจะไหลเข้าหาแนวรัศมีตามแนวแกนและไหลออกจากปั๊มในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ปั๊มจะขนานกับเพลาในปั๊มตามแนวแกน
  • Centrifugal Pumps คือ ปั๊มหอยโข่ง การหมุนของใบพัดทำให้เกิดแรงเหวี่ยงไปผลักให้ของน้ำไหลตลอดแนวเรือนปั๊ม และทางออกของน้ำจะทำมุม 90 องศา กับทางน้ำไหลเข้า ยิ่งใบพัดหมุนเร็วยิ่งใช้พลังงานมาก
  • Vertical Centrifugal Pumps คือ ปั๊มหอยโข่งแนวตั้ง มีเพลาพิเศษติดตั้งในแนวตั้งและฐานรองลูกปืนที่ช่วยให้มีความสามารถในการเหวี่ยงในน้ำได้ดี เหมาะสำหรับของเหลวแรงดันสูง และอุณหภูมิสูง รวมถึงใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย
  • Horizontal Centrifugal Pumps คือ ปั๊มหอยโข่งแนวนอน นิยมใช้กันในบ้านเรา โดยปกติเพลาจะติดตั้งในแนวนอน ปั๊มชนิดนี้จะติดตั้งและบำรุงรักษาง่าย เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีการดูดต่ำ หากต้องการใช้กับงานที่ดูดสูง มีใบพัดอย่างน้อย 2 ตัวเป็นอย่างต่ำ อาจมีการดูดแบบเดี่ยวหรือแบบคู่ สามารถทำงานที่อุณหภูมิและแรงดันต่ำกว่า รวมถึงใช้พื้นที่ติดตั้งมากกว่าปั๊มหอยโข่งแนวตั้ง
  • Submersible Pumps คือ ปั๊มซับเมอร์ส ปั๊มจุ่ม หรือปั๊มบาดาล เป็นปั๊มน้ำที่ใช้งานลักษณะจุ่มแช่ลงไปในน้ำ เป็นเครื่องมือที่ช่วยดูดน้ำที่ลึกลงไปในชั้นผิวดินที่มีความลึกเกิน 10 เมตร โดยอุปกรณ์ที่มานำมาใช้ผลิตและประกอบนั้นมีความแน่นหนาเพื่อป้องกันมอเตอร์เสียหายจากการทำงาน มีความหลากหลายของจำนวนใบพัดก็เพื่อความสามารถในการสูบและเหมาะกับอัตราการไหลของน้ำ ยิ่งใบพัดมาก ปั๊มก็ยิ่งมีความยาวมาก และสามารถส่งน้ำได้สูงขึ้นเช่นกัน
  • Fire Hydrant Systems คือ ระบบน้ำดับเพลิง เป็นเครื่องสูบน้ำแรงดันสูง เพื่อเพิ่มความสามารถในการดับเพลิงโดยเพิ่มแรงดันภายในท่อจ่ายน้ำเมื่อไฟหลักไม่เพียงพอ โดยมีแหล่งจ่ายน้ำดับเพลิงที่ให้แรงดันและไหลผ่านหัวฉีด ท่อส่ง และหัวจ่ายน้ำทั่วทั้งโครงสร้างระบบน้ำดับเพลิง ปั๊มชนิดนี้จะมีท่อหลายชุดเชื่อมต่อโดยตรงกับแหล่งจ่ายน้ำหลักเพื่อส่งน้ำไปยังท่อจ่ายน้ำแต่ละท่อ ท่อดับเพลิงสามารถเชื่อมต่อกับวาล์วระบายหลายตัวในปั๊มจ่ายน้ำแต่ละปั๊มเช่นกัน

2. ทำงานโดยอาศัยหลักการแทนที่ของเหลว (Positive Displacement Pump) มีอัตราการไหลคงที่ 

  • Positive Displacement Pump คือ ปั๊มใช้หลักการอัด และบีบตัวของเหลวไปเรื่อย ๆ โดย Flow จะคงที่ตลอด เมื่อ Flow คงที่ แต่ความดัน (Pressure) จะขึ้นเรื่อย ๆ ตามการอัดแต่ละครั้ง หากมีใครไปปิดวาล์วขาออก (Discharge) ปั๊มจะทำความดันสูงขึ้นเรื่อย ๆ เกิดการขนถ่ายของเหลวด้วยการแทนที่ของเหลวในที่ว่าง เช่น ช่องว่างของกระบอกสูบ เป็นต้น

สามารถแบ่งชนิดปั๊มน้ำได้ดังนี้

  • Plunger Pump คือ ปั๊มแบบที่มีลูกสูบ เป็นปั๊มแรงดันสูง เคลื่อนที่กลับไปมาในกระบอกสูบ (Cylinder) เพื่อสูบและส่งของเหลวเป็นจังหวะ จะมีซีลเป็นแบบยึดติดนิ่งกับกระบอกสูบ ทำให้ซีลรั่วยากและไม่เสื่อมเร็ว แตกต่างกับ Piston Pump คือ เหมาะกับแรงดันขาเข้าและขาออกในกระบอกสูบที่สูงมากกว่า เพราะตัวซีลจะไม่เคลื่อนที่ไปพร้อมกับลูกสูบและเสียดสีกับกระบอกสูบตลอดเวลาเหมือน Piston Pump ซึ่งทำให้ซีลเสื่อมสภาพเร็ว จึงนิยมใช้สำหรับงานที่ต้องการน้ำแรงดันสูง เช่น ระบบการล้างต่าง ๆ การล้างรถ การล้างพื้นผิว ถนนและโรงงาน การล้างถัง การล้างท่อ การผลิตน้ำมัน การพ่นสี และ สำหรับระบบพิเศษเช่นการลอกสีของเรือ
  • Rotary Pump คือ ปั๊มโรตารี่ ที่เพิ่มพลังงานน้ำ โดยอาศัยการหมุนของฟันเฟืองรอบแกนกลาง มีชิ้นส่วนภายในที่หมุนได้ เพื่อตักหรือตวงน้ำให้ถูกดูดเข้าไปและอัดปล่อยออก โดยการหมุนรอบจุดศูนย์กลางของเครื่องมือกล ซึ่งมีช่องว่างให้น้ำไหลเข้าทางด้านดูดและเก็บอยู่ระหว่างผนังของห้องสูบกับชิ้นส่วนที่หมุน หรือโรเตอร์จนกว่าจะถึงด้านจ่าย การหมุนของโรเตอร์ทำให้เกิดการแทนที่ เป็นการเพิ่มปริมาตรของน้ำให้ทางด้านจ่ายนั่นเอง เหมาะกับของเหลวที่ความหนืดสูง ละต้องการการขนถ่ายแบบนุ่มนวล เช่น ครีม โยเกิร์ต เป็นต้น 

ปั๊มโรตารี่แบ่งได้3ชนิด

  1. ปั๊มโรตารี่ชนิดเฟือง (Gear Pump)
    เป็นชนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด ประกอบด้วยฟันเฟืองหรือเกียร์สองตัวหมุน ขบกันในห้องสูบ ของเหลวทางด้านดูดจะไหลเข้าไปอยู่ในร่องฟันซึ่งจะหมุนและพาของเหลวเข้าไปสู่ทางด้านจ่าย
  2. ปั๊มโรตารี่ชนิดครีบ (Rotary Vane Pump)
    ห้องสูบเป็นรูปทรงกระบอก และมีโรเตอร์ซึ่งเป็นทรงกระบอกเหมือนกัน วางเยื้องศูนย์ให้ผิวนอกของโรเตอร์สัมผัสกับผนังของห้องสูบที่กึ่งกลางทางดูดกับทางด้านจ่าย รอบ ๆ โรเตอร์จะมีครีบซึ่งเลื่อนได้ในแนวเข้าออกจากจุดศูนย์กลางมาชนกับผนังของห้องสูบ เมื่อโรเตอร์หมุนครีบเหล่านี้จะกวาดเอาของเหลวซึ่งอยู่ระหว่างโรเตอร์กับห้องสูบไปสู่ทางด้านจ่าย มีข้อดีกว่าชนิดเฟืองคือการสึกหรอของผนังห้องสูบหรือหลายครีบจะไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานมาก เพราะครีบสามารถเลื่อนออกมาจนชนกับผนังของห้องสูบได้สนิท
  3. ปั๊มโรตารี่ชนิดลอน (Rotary Lobe Pump)
    มีสองใบพัดในหัวปั๊ม สองใบพัดเชื่อมต่อที่สองเพลาและหมุนทิศทางที่สวนทางกัน การหมุนจะสร้างปริมาณสูญญากาศในท่อ ของเหลวจะถูกดูดเข้าไปในหัวปั๊มและเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ในห้องระหว่างโรเตอร์กับห้องเสื้อปั๊มและถูกบีบออกทางด้านทางออก

  • Reciprocating Pump คือ ปั๊มน้ำลูกสูบ จะเคลื่อนน้ำโดยใช้ลูกสูบที่เคลื่อนที่ไปมาในกระบอกสูบที่มีวาล์วเพื่อช่วยควบคุมทิศทางการไหลของน้ำ (ทางเข้าและทางออก) เมื่อเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว ลูกสูบจะขยายห้องภายในกระบอกสูบและสร้างสุญญากาศบางส่วนที่ดึงน้ำเข้าสู่กระบอกสูบ วาล์วไอดีปิดลงเพื่อกักน้ำที่ดึงเข้าไปในกระบอกสูบ จากนั้นวาล์วเอาท์พุตจะเปิดพร้อมกันกับทิศทางการย้อนกลับของลูกสูบ ซึ่งบังคับให้น้ำไหลออกที่แรงดันที่สูงกว่าเมื่อเข้าไปในปั๊ม ปั๊มลูกสูบแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบ double-acting ทำให้สามารถผลักดันน้ำออกไปได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง 
  • Diaphragm Pump คือ ปั๊มแบบไดอะแฟรม หรือ Air Operated Double Diaphragm Pump ภายในมีแผ่นบาง (Diaphragm) ซึ่งยุบตัวด้วยแรงอัดของอากาศ หรือ แรงกล ทำให้สูบและผลักของเหลวเป็นจังหวะ เป็นปั๊มที่สามารถใช้กับของเหลวที่มีไอระเหย สามารถดูดของเหลวที่หนืดข้น และไว้ใช้ส่งน้ำที่มีเศษมีตะกอนได้ดี นิยมใช้กับโรงงานผลิตยา หรือโรงงานผลิตอาหาร
  • Screw Pump คือ สกรูปั๊ม มีส่วนประกอบในการส่งถ่ายของเหลวหลักคือ สกรู (Screw Rotor) และร่องสกรูในเสื้อปั้ม (Housing Stator) ภายใต้ระยะเล็ก ๆ (Small Clearance) ระหว่างสกรูและร่องสกรู และของเหลวจะถูกบีบส่งในช่องแคบ ๆ นั้นจากการเคลื่อนที่ของตัวสกรูส่งผลให้เกิดอัตราการไหล และความดันที่ด้านขาออก ซึ่งคุณภาพของของเหลวที่ออกจากปั้มชนิดนี้จะออกมาเป็นลักษณะที่มีการไหลวน มีความสั่นสะเทือน (Vibration) ที่ต่ำ เพิ่มพลังงานให้แก่ของเหลวโดยอาศัยโรเตอร์ ในลักษณะขับดันให้ของเหลวเคลื่อนที่ไประหว่างร่องเกลียวสว่านกับผนังของห้องสูบจากทางด้านดูดไปสู่ทางด้านจ่าย จำนวนสว่านหรือโรเตอร์อาจมีได้ตั้งแต่หนึ่งถึงห้าตัว ทำให้ปั๊มชนิดนี้มีความแข็งแรงทนทานสูง และในระบบไม่มีความเสียดทานจึงทำให้ไม่สึกหรอ เหมาะกับใช้ในระบบหล่อลื่น (Lubrication system) ระบบการทำงานในลิฟท์ ตลอดจนในอุตสาหกรรมน้ำมันที่มีสารเคมี

ปั๊มน้ำแบบอัตราการไหลคงที่ มีประสิทธิภาพมากเนื่องจากสามารถกำจัดอากาศออกจากท่อและทำให้ไม่จำเป็นต้องไล่อากาศออก ปั๊มเหล่านี้ยังมีประสิทธิภาพในการจัดการกับของเหลวที่มีความหนืดสูงอีกด้วย แต่ทั้งนี้ ปั๊มเหล่านี้ต้องมีระยะห่างระหว่างปั๊มหมุนและขอบด้านนอกของยูนิตเพียงเล็กน้อย เป็นผลให้การหมุนต้องเกิดขึ้นที่ความเร็วต่ำมาก หากปั๊มทำงานด้วยความเร็วสูง ของเหลวสามารถกัดกร่อน และทำให้ประสิทธิภาพของปั๊มน้ำลดลงในที่สุด

เมื่อพิจารณาปั๊มน้ำแต่ละชนิดจะเห็นได้ว่าความสามารถมักจะทับซ้อนหรือใกล้เคียงกันจนบางทีอาจทำให้ปวดหัว ดังนั้น การตัดสินใจเลือกปั๊มน้ำที่ตรงต่อความต้องการมากที่สุดจึงอาจเป็นเรื่องท้าทาย

อย่างไรก็ตาม หากเลือกปั๊มน้ำได้เหมาะสมกับประเภทของการใช้งาน จะช่วยประหยัดเงิน ประหยัดพลังงาน และเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและครอบครัว

แล้วจะมีวิธีการเลือกปั๊มน้ำอย่างไรให้ถูกวิธี ได้วัสดุที่มีคุณภาพดีและตอบโจทย์ต่อการใช้งานมากที่สุด?